โรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) คืออะไร?

โรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) คืออะไร?

 

โรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) คืออะไร?

 
โรคอ้วนลงพุงหรือ Metabolic Syndrome เป็นภาวะที่อ้วนโดยเฉพาะส่วนเอว และทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย ในทางการแพทย์ หมายถึงกลุ่มโรคที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารที่ผิดปกติ ส่งผลทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ในที่สุดจะเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดสูง
 

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคอ้วนลงพุง Metabolic Syndrome

จะต้องเป็นอ้วนชนิดลงพุง กล่าวคือมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. 80 ซม.ในชาย และหญิงตามลำดับ และมีภาวะดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ
 
  1. ความดันโลหิตมากกว่า 130/85 มม ปรอทหรือผู้ที่ได้รับยาลดความดันโลหิต
  2. ระดับ Triglyceride >150 mg% ,หรือผู้ที่เป็นไขมันสูงและได้รับยาลดไขมัน
  3. ระดับ HDL > 40,50 mg%สำหรับชายและหญิงตามลำดับ หรือผู้ที่ได้รับยาลดไขมัน
  4. ระดับน้ำตาลสูงกว่า 100 mg% หรือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
 
พบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 3 ข้อจะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า และพบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 4 ข้อจะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 3 เท่า และเกิดโรคเบาหวานเพิ่ม 24 เท่า
 
โรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) คืออะไร
 

สาเหตุของโรคอ้วนลงพุง Metabolic Syndrome

  1. พันธุกรรม ทำให้ระดับอ้วนลงพุงไม่เท่ากัน และขึ้นอยู่กับการวิจัยของแต่ละประเทศว่าค่าเส้นรอบเอวควรจะเป็นเท่าใด ตารางข้างล่างแสดงค่าเส้นรอบเอวของบางประเทศ สำหรับประเทศไทยใช้เกณฑ์ประเทศเอเชียใต้
  2. อาหารที่เรารับประทาน
  3. พฤติกรรมการดำรงชีวิต เนื่องจากร่างกายของผู้ที่เป็นโรคนี้ดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ตับอ่อนต้องสร้างอินซูลินเป็นปริมาณมาก เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อเวลาผ่านไปตับอ่อนก็ไม่สามารถที่จะสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอจึงเกิดเบาหวาน
 

ภาวะนี้ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

  • ทำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบจึงเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ง่าย
  • ไตจะขับเกลือออกได้น้อยลงทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
  • ไขมัน triglyceride ที่สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดตีบ
  • เลือดจะแข็งตัวได้ง่ายทำให้อุดหลอเดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหรือสมอง
  • เป็นโรคเบาหวานได้ง่าย

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Line :  Line @sparsha

ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ

 

ด็อกเตอร์ไลฟ์ doctorlife